กรณีศึกษา : ลดการสูญเสียเนื้อปลาในกระบวนการผลิต
27
July
2561
“การแก้ไขความสูญเสียในส่วนของการมีของเสีย (Defects) เนื่องจากหน่วยงานมีการสูญเสียเนื้อปลาในกระบวนการผลิต”
ใน 1 วันทำการ มีเศษเนื้อปนก้าง 100 กิโลกรัม ราคาเนื้อปลา กิโลกรัมละ 57 บาท ซึ่งถ้าทิ้งไปก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น วันละ 5,700 บาทต่อวัน
วัตถุประสงค์
เพื่อลดการสูญเสียจากการทิ้งเศษเนื้อปลาปนก้างในกระบวนการผลิตของหน่วยงาน
รายละเอียดการผลดำเนินงาน
ในกระบวนการผลิตเนื้อแหนมที่ได้มาจากเนื้อปลา ต้องนำเนื้อปลาเข้าเครื่องบดเพื่อรีดก้างและบดเนื้อปลาให้ละเอียดผ่านรูตะแกรงบด จะมีเนื้อปลาที่ไม่สามารถผ่านรูตะแกรงบดเนื่องจากก้างที่ติดค้างหน้าตะแกรงบดขวางและต้องนำตะแกรงบดออกมาทำความสะอาดทุก 120 กิโลกรัม ซึ่งจะมีเศษเนื้อปลาปนก้างจะติดออกมาประมาณ 1 กิโลกรัมเสมอ
วิธีการดำเนินงานแก้ไขปัญหา
ก่อนการปรับปรุงแก้ไขปัญหา ทางบริษัทจะทิ้งเศษเนื้อปลาดังกล่าว แต่เมื่อทำการพิจารณาหาแนวทางการแก้ไขปัญหา พบว่า สามารถนำเศษเนื้อปลาดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้ จึงได้นำเศษเนื้อปนก้างมาหมักเกลือเพื่อผลิตเป็นปลาร้า
ผลที่ได้รับ
ใน 1 วันทำการ มีเศษเนื้อปนก้าง 100 กิโลกรัม ราคาเนื้อปลา กิโลกรัมละ 57 บาท ซึ่งถ้าทิ้งไปก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น วันละ 5,700 บาทต่อวัน
เมื่อนำไปผลิตเป็นปลาร้า สามารถกรองและตักเป็นน้ำปลาร้าจำหน่ายให้ผู้บริโภคได้ ซึ่งทางบริษัทสามารถจัดจำหน่ายส่งออกไปต่างประเทศในรูปแบบบรรจุขวด 500 cc. ในราคาขวดละ 20 บาท
คิดเป็นมูลค่าการลดความสูญเสียจากการมีของเสียเท่ากับ 1,778,400 บาทต่อปี
(มูลค่า 5,700 บาทต่อวัน * 26 วันทำการ =148,200 บาทต่อเดือน= 1,778,400 บาทต่อปี) และยังมีการต่อยอดที่ได้จำหน่ายน้ำปลาร้าอีกด้วย โดยไม่ต้องเพิ่มราคาต้นทุนผลิตแหนม ซึ่งการต่อสู้เรื่องราคาขายและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ค่อนข้างรุนแรงพอสมควร
ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
Warning: Invalid argument supplied for foreach() in /home/customer/www/inspiremach.com/public_html/wp-content/themes/inspiremach/single-news-activity.php on line 37