ไส้กรอก
ไส้กรอก (sausage) คือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ (meat product) เช่น เนื้อวัว ไก่ ไก่งวง แกะ แล้วนำมาบด หลังจากนั้นนำไปผสมกับเกลือ และเครื่องปรุงรสแล้วบรรจุในไส้ (casing) เพื่อทำให้มีรูปร่างเป็นรูปทรงกระบอก
ชนิดของไส้กรอก
ไส้กรอกสุก (cooked sausage)
เป็นไส้กรอกที่ทำจากเนื้อสัตว์ สุกพร้อมที่จะรับประทานได้ทันที อาจรมควัน (smoking) หรือไม่ก็ได้ เช่น
![]() แฟรงเฟอร์เตอร์ |
![]() แนกเวอร์สต์ |
![]() โบโลญา |
![]() เวียนนา |
ไส้กรอกกลุ่มนี้เป็นไส้กรอกที่บดเนื้อจนละเอียดเนียนเป็นอิมัลชัน (emulsion) เพื่อให้โปรตีนไมโอซิน (myosin) ในเส้นใยกล้ามเนื้อ (myofibril) ถูกสกัดละลายออกมา เพื่อช่วยทำหน้าที่เป็นอิมัลซิไฟเออร์ (emulsifier) ช่วยให้หุ้มส่วนของไขมันที่ถูกสับเป็นหยดละเอียด กระจายตัวในส่วนผสมที่เหลือโดยไม่แยกชั้นไขมัน โดยใช้กระทะสับผสม หรือเครื่องสับผสม ที่สับเนื้อสัตว์ให้ละเอียดด้วยใบมีดที่หมุนด้วยความเร็วสูง หรืออาจมีระบบสุญญากาศเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้เนื้อที่ผ่านการสับผสมนั้นฟู และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ไส้กรอกสด (fresh sausage)
ทำจากเนื้อสด และผสมเครื่องปรุง แล้วนำไปบรรจุไส้ ก่อนรับประทานต้องนำมาทำให้สุกก่อน
ไส้กรอกเนื้อสด (fresh beef sausage) ผลิตจากเนื้อสด ที่ผ่านการเอากระดูกออก (deboned beef) มีไขมันไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเติมน้ำหรือน้ำแข็งได้เกิน 3 เปอร์เซ็นต์
ไส้กรอกอาหารเช้า (breakfast sausage) ผลิตจากเนื้อโคสดหรือจากผลพลอยได้จากเนื้อสัตว์ก็ได้ และอาจเติมสารที่ช่วยการรวมตัวได้ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตที่ได้ ไขมันไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ และเติมน้ำเกลือหรือน้ำแข็งได้ถึง 3 เปอร์เซ็นต์
บราตเวอร์สต์ (Bratwurst) ผลิตจากเนื้อลูกโค มีการใช้ผิวหรือน้ำมะนาวในการปรุงรส นิยมลวกก่อนจำหน่าย
ไส้กรอกกึ่งแห้ง (semi-dry sausage)
เป็นไส้กรอกที่มีการหมัก เพื่อให้เกิดกรดแล็กทิก (lactic acid fermentation) โดยใช้เชื้อแบคทีเรียตามธรรมชาติ หรือเชื้อบริสุทธิ์ที่เติมลงไป มีรสเปรี้ยว และมีกลิ่นหมัก มีความชื้นน้อยกว่าไส้กรอกสด แต่มีเนื้อสัมผัสที่ค่อนข้างนุ่มกว่าไส้กรอกแห้ง ไส้กรอกกึ่งแห้งหลายชนิดจะผ่านการรมควัน ตัวอย่างของไส้กรอกกึ่งแห้ง ได้แก่
![]() (Thuringer) |
![]() (Summer sausage) |
![]() (Lebanon Bologna) |
ไส้กรอกแห้ง (dry sausage)
เป็นไส้กรอกที่ผ่านการทำแห้ง (dehydration) มีความชื้นประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ อาจผ่านการรมควัน (smoking) มีเนื้อแน่น แห้ง และเก็บรักษาไว้ได้นานที่อุณหภูมิห้อง เช่น
![]() ซาลามิ (Salami) |
![]() เปปเปอร์โรนิ (Peperoni) |
![]() ไก่เชียง |
Bulk sausage
ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อคล้ายไส้กรอก แต่ไม่ได้บรรจุในไส้ เช่น ลันเชียนมีท มีทโลพ และเบอร์เกอร์ เป็นต้น ลันเชียนมีท (luncheon meat)
ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก : Food Network Solution
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
Warning: Invalid argument supplied for foreach() in /home/customer/www/inspiremach.com/public_html/wp-content/themes/inspiremach/single-news-activity.php on line 37